เอื้องลำอ้วนดอกขน / -

ประวัติการค้นพบ: ในปี ค.ศ. 1864 กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกตั้งชื่อครั้งแรกว่า Eria dasypus โดย Heinrich Gustav Reichenbach ต่อมาในปี ค.ศ. 1981 ได้มีการศึกษาทบทวนและได้ถูกตั้งชื่อใหม่เป็น Pinalia dasypus โดย Carl Ernst Otto Kuntze ที่มาชื่อไทย: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยอวบน้ำมีหลายข้อเกาะเป็นกลุ่มชิดกัน ใบ มี 2 - 5 ใบ ที่บริเวณปลายลำลูกกล้วย ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ช่อดอก แบบช่อกระจะ เกิดด้านข้างใกล้ปลายลำลูกกล้วย มีขนสีขาวสั้น ๆ ปกคลุมหนาแน่น 1 ช่อ มี 4 - 5 ดอก ก้านช่อดอกยาว 1 - 1.5 ซม. หนาประมาณ 1.5 มม. ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเรียงสลับไปตามแกนช่อดอก ดอกบานกว้างประมาณ 0.8 - 1 ซม. ก้านดอกย่อยมีขนสั้นสีขาวนุ่มปกคลุม กลีบเลี้ยงบนรูปใบหอก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่แกมรูปใบหอกฐานเบี้ยว ปลายแหลมบิดออกทางด้านข้าง กลีบเลี้ยงทั้งหมดด้านหน้ามีสีเหลืองอ่อน เกลี้ยง ด้านหลังมีขนนุ่มสั้นสีขาวปกคลุม กลีบดอกสีเหลืองอ่อน เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน กลีบปากมี 3 แฉก โคนกลีบติดกับปลายฐานเส้าเกสร แฉกข้างตั้งขึ้น แฉกกลางปลายมีสีน้ำตาล ม้วนลง ตรงกลางแฉกมีสัน 3 สัน 2 สันข้างมีขน สันกลางเกลี้ยง เส้าเกสรสีเหลืองอ่อน ฝาอับเรณูสีเหลือง ผลแห้งแล้วแตก ขนาด 15-17 x 3.5-5 มม. มีขนสีขาวสั้น ๆ ปกคลุม นิเวศวิทยา: การกระจายพันธุ์: เขตการกระจายพันธุ์ในเมียนมาและไทย ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ:กล้วยไม้อิงอาศัย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แกนช่อดอก ก้านดอกรวมรังไข่ และด้านนอกของกลีบเลี้ยงมีขนสีขาวหนาแน่น ช่วงกลางและช่วงล่างกลีบปากมีส้น 3 สัน สันข้าง 2 สันมีขนแน่น สีของดอกมีความผันแปรค่อนข้างสูง สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง:(2) Forest Herbarium - BKF - โพสต์ | Facebook


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Pinalia dasypus (Rchb.f.) Kuntze

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง